สมาคมประกันชีวิตไทยชวนร่วมงาน Thailand InsurTech Fair 2022
Categories : Insurance
Public : 10/07/2022
สมาคมประกันชีวิตไทย เชิญชวนประชาชนร่วมงาน Thailand InsurTech Fair 2022 มหกรรมด้านประกันภัย ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ณ ฮอลล์ 6 อิมแพค เมืองทองธานี นอกจากนี้ยังสามารถเยี่ยมชมบูธออนไลน์ (Online) ผ่านทาง https://seminar.tif2022.com ที่ตอบโจทย์การประกันภัยยุคดิจิทัล ในระหว่างวันที่ 7 - 9 ตุลาคม 2565
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า สมาคมประกันชีวิตไทยและภาคอุตสาหกรรมประกันภัยร่วมงาน “Thailand InsurTech Fair 2022 มหกรรมด้านประกันภัย” ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ซึ่งภายในงานสมาคมประกันชีวิตไทยได้ร่วมออกบูธจัดนิทรรศการและมีวีดิทัศน์รูปแบบการ์ตูนอนิเมชั่นให้ความรู้ด้านการวางแผนบริหารความเสี่ยงด้วยประกันชีวิต ลดความกังวลใจ ลดภาระค่าใช้จ่ายในยามที่เจ็บป่วยด้วยประกันสุขภาพ พร้อมทั้งยังนำเกมออนไลน์ สื่อการเรียนรู้ด้านประกันชีวิตที่ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีสมัยใหม่กับองค์ความรู้เกี่ยวกับประกันชีวิตขั้นพื้นฐาน เพื่อเสริมการเรียนรู้ด้านการประกันชีวิตให้มีความสนุก เข้าใจง่าย พร้อมกันนี้ยังมี 14 บริษัทประกันชีวิตร่วมออกบูธทั้งแบบ ON GROUND และ ONLINE ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) , บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) , บริษัท ฟิลลิปประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท เอไอเอ จำกัด , บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ยกทัพตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงินมาให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนทางการเงิน บริหารความเสี่ยงด้วยการประกันชีวิตและประกันสุขภาพ อาทิ สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง (Health & CI) และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ อีกทั้งยังนำ DIGITAL SERVICES ใน Platform ต่างๆ เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชั่น ระบบ Artificial Intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ มาช่วยบริการด้านเสนอขายผลิตภัณฑ์ การพิจารณารับประกันภัย การพิจารณาจ่าย ค่าสินไหม รวมถึงการให้บริการต่างๆ แก่ผู้ถือกรมธรรม์ อาทิ บริการพบแพทย์ออนไลน์ (Telemedicine) ที่เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลไม่จำเป็นต้องเดินทางก็สามารถเข้าถึงบริการ
ทางการแพทย์ได้ โดยแพทย์สามารถให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และรักษาผ่านระบบ VDO call ซึ่งเป็นการยกระดับการทำงานและการให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัย ให้มีความสะดวกรวดเร็ว เข้าถึงง่าย ตอบสนองต่อความต้องการได้เป็นอย่างดี โดยผู้เอาประกันภัยไม่ต้องเดินทางไปติดต่อด้วยตนเอง ทำให้ลดเวลา ลดขั้นตอนของผู้เอาประกันภัย