ก.ล.ตสนธิกำลังร่วม ตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมตรวจสอบการซื้อขายหุ้น” MORE” 

Categories : Update News, Stock Market

Public : 11/18/2022

ก.ล.ตสนธิกำลังร่วม กับ ตำรวจ ปอส และตลาดหลักทรัพย์  ตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมตรวจสอบการซื้อขายหุ้น" MORE"  ที่ส่งผลกระทบทั้งกว้างและลึก ลั่นต้องจบเร็ว !! กฎหมายและเครื่องมือที่มีอยู่เพียงพอ  รอข้อมูลจากทุกทางที่นำส่งมา

ย้ำ ธุรกิจบล.ไม่ได้มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องและเงินกองทุน กรณีสั่ง AWS หยุดทำธุรกิจชั่วคราวเหตุ มีความผิดในเรื่องการบริหารจัดการทรัพย์สินของลูกค้า ถือเป็นการทำความผิดตาม พรบ.หลักทรัพย์มีโทษอาญา

สำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ได้เปิดแถลงข่าวด่วนเพื่อชี้แจงกรณีการสั่ง บล หลักทรัพย์เอเซียเวลท์ (AWS) หยุดดำเนินกิจการชั่วคราว รวมถึงการตรวจสอบกรณีการซื้อขายหุ้น มอร์รีเทิร์น(MORE) โดย

น.ส รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ กลต.เปิดเผยถึงกรณีการตรวจสอบการซื้อขายหุ้น MORE ว่า ขณะนี้สำนักงานได้สนธิกำลังกับ ทาง  ตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) ปอศ และตลาดหลักทรัพย์ ตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อตรวจสอบกรณีการซื้อขายหุ้น MOREขึ้นมาโดยเฉพาะซึ่งในคณะทำงานชุดนี้จะมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆเข้ามาร่วมทำงานเพื่อทำการตรวจสอบเพราะถือว่าเป็นกรณีที่ส่งผลกระทบทั้งกว้างและลึก จึมีความจำเป็นและเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อสรุปและสรุปผลเร็วที่สุด

 

"การตั้งคณะทำงานขึ้นมาไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในกรณีของ MORE แต่ก่อนหน้าได้มีคณะทำงานขึ้นมาตวรจสอบใน 2-3 เรื่องแล้วและถือว่าเป็นการทำงานที่มีประสิทธิและสรุปผลได้รวดเร็วดังนั้นจึงนำมาใช้กับกรณีตรวจสอบการซื้อขายหุ้นMORE อีก" เลขาธิการ กลต.

 

อย่างไรก็ตามในแง่ของเครื่องมือและกฎหมายที่ กลต.ถือว่าเพียงพอและรองรับกับกรณีการทำความผิดได้รวมทั้งปัจจุบันสำนักงานเองก็ได้นำ ระบบ AI มาใช้ในการตรวจสอบด้วย ซึ่งในเรื่องการตรวจสอบ ประเด็นสำคัญสุดคือเรื่องของขอมูล ซึ่งครั้งนี้ก็ขอให้ทุกส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ หรือ ใครก็ตามก็ขอให้ส่งข้อมูล มาให้สำนักงานเพื่อนำมาใช้ในการตรวจสอบ

เลขาธิการ ก.ล.ต.กล่าวเพิ่มเติม ว่า ปัจจุบันมี 3 โจทย์ใหญ่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการที่สืบเนื่องจากการซื้อขายหุ้น MORE  ที่ผิดปกติ คือ 1.การพิจารณาว่าเกิดกรณีที่เกิดขึ้นเป็นธรรมหรือไม่ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ แยกจากเรื่องฉ้อโกงที่เป็นไปตามกฎหมายอาญา    2.บริษัทหลักทรัพย์ และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้มีการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเองตามกติกาหรือไม่อย่างไร  ซึ่งที่ผ่านมาทาง ก.ล.ต. ได้มีการเข้าไปสอบถามพูดคุยกับผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง และ 3. ก.ล.ต. ได้มีการพูดคุยกับ ตลท. เกี่ยวกับคุณภาพของหุ้น โดยเฉพาะหุ้นขนาดเล็ก "โจทย์ใหญ่ 3 ข้อที่กล่าวมาเราได้เริ่มดำเนินการทำไปในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา บางกิจกรรมทำไปแล้ว  และเป็นเรื่องที่ต้องทำต่อไปและอนาคตจะต้องแก้กฎหมายหรืออะไรก็ต้องทำในขั้นตอนต่อไป

 

นอกจากนี้  ก.ล.ต. ชี้แจงว่าคำสั่งปิดทำการชั่วคราว AWS ว่า คำสั่งให้หยุดดำเนินกิจการชั่วคราวนั้นไม่ได้เกิดจากปัญหาการขาดสภาพคล่องหรือการมีเงินกองทุนไม่เพียงพอ แต่เกิดจาก พบปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพย์ของลูกค้า โดยมีการ   นำเงินส่วนหนึ่งเป็นเงินของลูกค้า ไปชำระค่าหุ้น ซึ่งถือว่าเป็นการ กระทำผิดหลักเกณฑ์อย่างชัดเจนและเป็นการทำผิดตาม ประกาศที่ออกภายใต้ พรบ.หลักทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นความผิดตาม พรบ มีโทษอาญา ส่วนโทษจะเป็นอย่างไร หรือกฎหมายฉบับอื่นด้วยหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณากันในขั้นตอนต่อไป    และจะต้องดูว่าบริษัทสามารถดำเนินการตามคำสั่ง ได้หรือไม่ ว่าจะต้องนำเงินมาคืนลูกค้าภายนวันที่ 20 พ.ย นี้

 

นางสาวรื่นวดี กล่าวอีกว่า การกำกับดูแลของผู้ประกอบการธุรกิจหลักทรัพย์นั้น ก.ล.ต. มีการดูแลอยู่ทั้งหมด 3 มิติ คือ 1.ความมั่นคงทางด้านฐานะทางการเงิน 2.บุคลากร โดยเน้นไปยังกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญๆ อาทิ ผู้แนะนำการลงทุน (IC) เป็นต้น 3.ระบบงาน ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นกับ AWS โดยมีส่วนงานที่สำคัญคือการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า

สำหรับเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (NC) เป็นเครื่องมือที่ใช้คำนวนเพื่อที่จะให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบถึงสภาพคล่องของตนเองนั้นมีเพียงพอมากแค่ไหน โดยหากไม่สามารถดำรง NC ไว้ได้ก็จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนอื่นๆต่อไป อาทิ ห้ามขยายการประกอบธุรกิจ เป็นต้น

สำหรับโครงสร้างของสูตรคำนวณ NC = สินทรัพย์สภาพคล่อง - หนี้สินรวม - ค่าความเสี่ยง มีข้อสังเกตว่าสินทรัพย์ที่ไม่มีสภาพคล่องไม่สามารถนำเป็น NC ได้ และหนี้สินรวมหมายถึงหนี้สินทั้งหมด ยกเว้นหนี้สินด้อยสิทธิ/สัญญาเช่า "หลักการที่ผ่านมาในอดีตบริษัทหลักทรัพย์จะมีการคำนวนทุกวัน และรายงานให้ ก.ล.ต. เป็นรายเดือน แต่หากติดลบต้องรายงานทันที และประสานงานใกล้ชิดว่าแผนต้องแก้อย่างไร ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่มีความละเอียดและซับซ้อน ที่ผ่านมาทาง ก.ล.ต. ไม่ได้มีการเปิดเผย แต่สำหรับกรณีที่เกิดกับทาง AWS อยู่ในส่วนของข้อ 3 คือ ปัญหาเรื่องระบบงานที่ทำไม่ถูกต้องตามที่ ก.ล.ต. ได้ประกาศเอาไว้ ยังไม่ได้เกี่ยวกับสถานะทางการเงิน