PPwC แนะธนาคาร-ภาคการเงินไทยนำESGมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ
Categories :
Public : September 14, 2022PwC แนะธนาคาร-ภาคการเงินไทยเตรียมพร้อมการวัดความเสี่ยงวิกฤตสภาพภูมิอากาศ-นำ ESG มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ
PwC แนะธนาคารและภาคการเงินของไทย ตื่นตัวในเรื่องการบริหารความเสี่ยงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ หลังมีแนวโน้มว่า จะมีการนำ Climate Risk Stress Test มาใช้ในอนาคตอันใกล้ ชี้หน่วยงานกำกับดูแลในสิงคโปร์-มาเลเซีย ออกข้อแนะนำและแนวปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่ผลการทดสอบ CST ของ ECB พบธนาคารในยูโรโซนส่วนใหญ่ ไม่ได้นับรวมความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศไว้ในโมเดลด้านสินเชื่อของตน นางสาว สุ อารีวงศ์ หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก รวมทั้งกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตื่นตัวในการประเมินการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม หรือ สภาพภูมิอากาศ กับการดำเนินงานของธนาคารมากขึ้น โดยธนาคารกลางของสิงคโปร์1 และ มาเลเซีย2 ได้ออกข้อแนะนำและแนวปฏิบัติในการนำปัจจัยความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม มาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร ซึ่งในทางทฤษฎี การนำความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม มาเป็นปัจจัยส่วนเพิ่มในการบริหารความเสี่ยงที่ธนาคารมีอยู่เดิม จะทำให้ธนาคารสามารถประเมินผลกระทบของความเสี่ยงได้อย่างมีความแม่นยำมากขึ้น “กระแสของการดำเนินธุกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG ถือเป็นหนึ่งในพลวัตสำคัญของโลกที่ทุกภาคส่วนรวมทั้งหน่วยงานกำกับร่วมกันผลักดัน ทำให้เกิดเป็นแนวทางปฏิบัติ requirement และกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่ภาคธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาโลกร้อน” นางสาว สุ กล่าว ทั้งนี้ เมื่อปลายปี 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลงานกองทุนโดยทางการ (Pillar 2)3 โดยเพิ่มการคำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) ในกระบวนการประเมินความเสี่ยงของเงินกองทุน ซึ่งถึงแม้ว่า ธปท. อาจจะยังไม่ได้ออกแนวทางที่ชัดเจนในปัจจุบัน นางสาว สุ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงในหลักเกณฑ์ดังกล่าว ถือได้ว่า เป็นสัญญาณการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในหลักเกณฑ์การนำปัจจัยด้าน ESG มาใช้ในการบริหารความเสี่ยงในอนาคตของธนาคาร “สำหรับไทยเวลานี้ regulator ของเราน่าจะอยู่ในช่วงศึกษา และพิจารณาแนวทางที่ทางธปท. จะออกมาเป็นแนวปฏิบัติ แต่ถ้าประเมินจากสิ่งที่ประเทศเพื่อนบ้านได้ทำไปบ้างแล้ว เราน่าจะเห็นการนำ Climate Stress Testing หรือ Environment Stress Testing มาใช้กับภาคธนาคารของไทยในอนาคตอันใกล้ ซึ่งตัวอย่างของปัจจัยและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการทำ Stress Testing เช่น ปัญหาภาวะโลกร้อน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนี้ แบงก์จะต้องตื่นตัวในการบริหารความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” เธอ กล่าว ล่าสุด เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) ได้ประกาศผลการทดสอบภาวะวิกฤตด้านความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ (Climate Risk Stress Test: CST)4 พบว่า ธนาคารส่วนใหญ่นับรวมความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศเข้าในกรอบการทดสอบภาวะวิกฤต แต่ยังขาดประสิทธิภาพและข้อมูลที่เพียงพอ ทั้งนี้ ผลการทดสอบ CST ของ ECB ที่ถูกจัดทำในช่วงไตรมาสที่ 2 แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าธนาคารในยูโรโซนส่วนใหญ่ จะตื่นตัวในการนำ ESG มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ และการบริหารความเสี่ยง แต่ยังพบว่ามีความท้าทายจากการจัดทำแบบทดสอบนี้ เนื่องจากมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ อีกทั้งกระบวนการจัดทำรายงานภายในของธนาคารมีความยุ่งยากและซับซ้อน ระบบการเปิดเผยข้อมูลที่มีโครงสร้างที่แตกต่างกัน และ Climate Risk Framework ที่อาจจะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา ดังนั้น การจัดทำ CST ของ ECB ครั้งนี้ จึงถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกันของทั้งหน่วยงานกำกับและธนาคารในแถบยุโรป นางสาว สุ กล่าวแนะธนาคารผนวกการบริหารความเสี่ยงวิฤตภูมิอากาศ เข้ากับการดำเนินธุรกิจ
นางสาว สุ กล่าวต่อว่า ในระยะต่อไปจะเห็นภาคธุรกิจธนาคารยิ่งต้องปรับกลยุทธ์ โดยผนวกการบริหารความเสี่ยงที่พิจารณาถึงความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ และ ESG Risk อื่น ๆ เข้ากับการดำเนินธุรกิจมากขึ้น เช่น มีการพิจารณาถึงผลกระทบจากระดับ ESG Risk ของลูกค้าแต่ละราย และมีการนำผลกระทบดังกล่าว มาใช้ในการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าที่มีธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้าน ESG ต่ำ รวมไปถึง การออกสินเชื่อสีเขียว (Green loan) ซึ่งปัจจุบัน เริ่มเห็นธนาคารหลายแห่งออกผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ หรือ มีการพูดคุยกับลูกค้าถึงแนวทางบริหารความเสี่ยงด้าน ESG และมี การเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูล ที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบของความเสี่ยงด้าน ESG ให้มีความแม่นยำมากขึ้น