ThaiBMAจับตาหุ้นกู้ไฮยีล วงเงิน2.2หมื่นล้านครบกำหนดชำระไตรมาส4 ส่อยากลำยาก ต้นทุนพุ่ง!ยังมั่นใจปีนี้หุ้นกู้1ล้านล้า

Categories : Update News, Stock Market

Public : 10/05/2023

สมาคมตราสารหนี้(Thaibma)จับตาหุ้นกู้ไฮยีล วงเงิน2.2หมื่นล้านครบกำหนดชำระไตรมาส4 ส่อยากลำยาก  ต้นทุนพุ่ง!ยังมั่นใจปีนี้หุ้นกู้1ล้านล้าน

น.ส อาริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการสมาคม ตราสารหนี้ไทย(TaliBMA) เปิดเผยถึงผลภาพรวมความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อตลาดตราสารหนี้หลังกรณีการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ของบริษัทที่เกิดขึ้นมาต่อเนื่องกว่า 5 บริษัทว่า ทำมห้การขายหุ้นกู้ประเภทอันดับBBBลำบากมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาก็มีประมาณ4-5 บริษัทที่ได้พับแผนการขายไป ซึ่งก็มีหายเหตุผล ทั้งหาสภาพคล่องการแหล่งอื่นมีต้นทุนที่ดีกว่า เพราะต้องยอมรับว่าขณะนี้ต้นทุนในการออกหุ้นกู้ไฮยีลบอนด์ มีดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้น มากกว่าหุ้นกู้ปกติ หรือเฉลี่ยอยู่ที6-7% หรือบางบริษัทอาจสูงกว่า

 

นอกจากนี้สมาคมฯจับตาดูการครบกำหนดอายุของหุ้นกู้ไฮยีลที่จะครบกำหนดชำระในช่วงไตรมาส4 ปี2566 วงเงิน 2.2หมื่นล้าน ของ 35 บริษัทว่าจะสามารถออกหุ้นกู้ชุดใหม่หรือ หาแนวทางในการชำระอย่างไร  เพราะยอมรับว่า ได้รับผลกระทบในเรื่องความเชื่อมั่นจากกรณีการผิดนัดชำระ ของหลายบริษัทที่ผ่านมา

" ก็ต้องติดตามแต่ไม่ได้หมายความว่าทุกบริษัทจะมีปัญหาก็ขึ่้นอยู่กับธุรกิจ ของแต่ละบริษัทด้วยเพราะหากธุรกิจดีก็ยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนประเภทไฮเน็ตเวิกค์" รองกรรมการผู้จัดการกล่าว

สำหรับการออกหุ้นกู้ปีนี้ยังคาดว่าจะมีวงเงิน 1ล่านล้านบาท โดย9 เดือนออกมาแล้ว 8.24แสนล้านบาท และไตรมาส4 มีหุ้นกู้ครบดำหนด1.6แสนล้ายจึงคาดว่าปีนี้ก็ยังคงแตะ1ล้านล้านสูงกว่ายอดการออกเฉลี่ยในช่วง 7 ปี (ปี 2559-2565) ที่ 9.5 แสนล้านบาท

 

ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่าในช่ว 3 ตรมาสแรกของปี 2566 ตลาดตราสารหนี้ไทยขยายตัวได้ 5.8% จากสิ้นปีที่แล้ว โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ภาคเอกชนเป็นสำคัญแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้นโดยตลอดตั้งแต่ต้นปี โดยมูลค่าคงค้างตลาดตราสารหนี้ไทย สิ้นไตรมาส 3 ปี 2566 มีมูลค่าเท่ากับ 16.7 ล้านล้านบาท ขยายตัว 5.8% จากสิ้นปีที่แล้วในส่วนของการออกตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาว (หุ้นกู้) ในช่วง 3 ไตรมาสของปี 2566 มีมูลค่า 824,557 ล้านบาท คิดเป็น 65% ของมูลค่าการออกทั้งปี 2565 โดยผู้ออกภาคเอกชนที่มีอันดับเครดิตสูงยังสามารถออกและเสนอขายหุ้นกู้ได้ตามที่ต้องการ ขณะที่ผู้ออกบางส่วนได้ชะลอการออกหุ้นกู้ไปก่อนเพื่อรอจังหวะตลาดและอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม  กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการออกสูงสุดคือกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ ตามมาด้วย กลุ่มพลังงาน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มธนาคาร

กระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศ (Fund flow)ของนักลงทุนต่างชาติ มียอดการขายสุทธิตราสารหนี้ไทยติดต่อกันใน 3 ไตรมาสแรก ทำให้มียอดการขายสุทธิสะสม 1.5 แสนล้านบาท การถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ ณ สิ้นไตรมาส 3 มียอดรวมที่ 9.4 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 5.6% ของมูลค่าคงค้างตลาดตราสารหนี้ไทย โดยตราสารหนี้ไทยที่ต่างชาติถือครองมีอายุคงเหลือเฉลี่ยที่ 8.3 ปี เพิ่มขึ้นจาก 8.0 ปี เมื่อสิ้นปี 2565

เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย (Government bond yield curve) ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2023 ปรับตัวสูงขึ้นทุกช่วงอายุ โดยมีความชันลดลงจากการปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากของ Bond yield

ระยะสั้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย 5 ครั้งในปี 2566 อีกทั้งการประกาศแผนการออกพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ 2567 ที่เพิ่มขึ้น 0.16 ล้านล้านบาท จากปีงบประมาณที่ผ่านมา ประกอบกับเริ่มมีความชัดเจนในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลหลายโครงการ ส่งผลให้ Bond yield ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนสุดท้ายของไตรมาส 3 โดย Bond yield ไทยรุ่นอายุ 2 ปี ปรับตัวสูงขึ้น 90 bps. จากสิ้นปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 2.54% ส่วน Bond yield 10 ปี ปรับตัวสูงขึ้น 54 bps. มาอยู่ที่ 3.18% ณ สิ้นไตรมาส 3

อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชน (Corporate bond yield curve) อายุ 5 ปีของหุ้นกู้ทุกอันดับเครดิตปรับตัวสูงขึ้น 64-87 bps. ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2566 ใกล้เคียงกับการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล โดย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2566 อันดับเครดิต AAA ปรับตัวมาอยู่ที่ 3.48% AA ที่ 3.73% A ที่ 3.94%  BBB+ ที่ 4.95% และ BBB ที่ 5.90%

นอกจากนี้ ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ยังได้กล่าวถึงผลการสำรวจการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของผู้ร่วมตลาด ที่ส่วนใหญ่คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่2.50% ในการประชุมครั้งสุดท้ายของปีในเดือนพฤศจิกายนนี้ ขณะที่ Bond yield รุ่นอายุ 5 ปี และ 10 ปี ผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 10-15 bps. จากสิ้นไตรมาส 3 ขึ้นไปที่ 2.94% สำหรับรุ่นอายุ 5 ปี และขึ้นไปที่ 3.29% สำหรับรุ่นอายุ 10 ปี ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ และอุปสงค์-อุปทานของตลาดตราสารหนี้ไทย

พร้อมกันนี้ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) ได้มีการเปิดตัว MeBond Mobile Appเวอร์ชันใหม่ไปเมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา ทั้งในระบบ IOS และ Android โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หลังจากการเปิดใช้งานครั้งแรกในปี 2020 และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักลงทุน โดย MeBondby ThaiBMA เวอร์ชันใหม่นี้ ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้โดดเด่นมากขึ้นในด้าน Stability, Speed, Security และ Smooth เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ นักลงทุนมากยิ่งขึ้น