EXIM BANK  มุ่งสู่บทบาท  “Green Development Bank ” หวังลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และสิ่งแวดล้อม ต่อยอดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Categories : Update News, ESG News

Public : 12/14/2023

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ธนาคารมุ่งสู่บทบาท “Green Development Bank ” ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน โลจิสติกส์ และภาคอุตสาหกรรมของประเทศ โดยร่วมมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) สนับสนุนให้ธุรกิจไทยตลอดทั้ง Supply Chain ร่วมลดคาร์บอนและใช้พลังงานทดแทน ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)

   

นับเป็นภารกิจและเป้าหมายสำคัญของ EXIM BANK สู่การเป็น Green Development Bank เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยทุกระดับให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการสนับสนุนสินเชื่อและการลงทุนสีเขียวสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มยอดสินเชื่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คิดเป็นสัดส่วน 50% ของพอร์ตสินเชื่อคงค้างภายในปี 2571 ซึ่งปัจจุบัน ธนาคารมียอดสินเชื่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ที่ 60,298 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 37% ของสินเชื่อคงค้าง ซึ่งล่าสุด ไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ 164,976 ล้านบาท  โดยคาดว่าจะยอดสินเชื่อคงค้างจะขยาายตัวได้ตามเป้าหมายที่ราว 175,000 ล้านบาท ภายในปีนี้

       

EXIM BANK  กับบทบาทในการผลักดันตลาด Carbon Credit 

   

EXIM BANK ประสานกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 ควบคู่การพัฒนาคนตัวเล็กหรือ SMEs ไทยให้เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง รวมทั้งให้ปรับตัวเป็นธุรกิจสีเขียว แข่งขันได้อย่างยั่งยืนในเวทีการค้าโลก โดยการช่วยผู้ประกอบการลดคาร์บอนทั้ง 3 Scope

Scope 1 Exim Bank ช่วยผู้ส่งออกลดคาร์บอนในการผลิต ซึ่งเป็นการลดคาร์บอนที่เกิดจากองค์กรโดยตรง เช่น กระบวนการผลิต การใช้รถขององค์กร ซึ่งมีสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ได้แก่ EXIM Green Start   EXIM Green Goal   EXIM Extra Transformation

 

Scope 2 Exim Bank ช่วยผู้ส่งออกลดคาร์บอนจากการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นคาร์บอนที่เกิดจากพลังงาน ที่ซื้อมาใช้ในองค์กร เช่นไฟฟ้า ความร้อน ไอน้ำ ซึ่งมีสินเชื่อ Solar Orchestar เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ Solar Rooftop , Solar Farm  สินเชื่อ Solar D-Carbon Financing และสินเชื่อ Exim Green Goal

 

Scope 3 Exim Bank ช่วย suppliers ของผู้ส่งออกลดคาร์บอน ซึ่งเป็นคาร์บอนที่ไม่ได้เกิดจากองค์กร ดำเนินการเองโดยตรง เช่น คาร์บอนที่เกิดจาก suppliers ใน chain ของผู้ส่งออกที่เป็นลูกค้าของธนาคาร มีสินเชื่อระยะยาวและสินเชื่อหมุนเวียน อัตราดอกเบี้ยพิเศษ และเตรียมหาแนวทางลดค่าใช้จ่ายในการ Verify ให้กับผู้ประกอบการ ช่วยประเมินประสิทธิภาพและสอบทานการลดการปล่อย Carbon

     

ซึ่งทั้งหมดนี้  Exim Bank ได้เติมความรู้ สร้างแรงจูงใจ อบรม และให้ความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ของธนาคาร แล้วเติมทุนผ่านสินเชื่อสนับสนุนการลดการปล่อยการคาร์บอนทั้ง 3 Scope รวมถึงการจับมือพันธมิตรนำโมเดล Green Development ลงพื้นที่แก้ภัยแล้งพร้อมแก้หนี้ครัวเรือน เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร สร้างรายได้ยั่งยืนใน ซึ่งได้ทำโครงการนำร่องที่ ชุมชนห้วยน้ำเพี้ย จังหวัดน่าน  ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ยังใช้งานได้และได้รับบริจาคจากลูกค้า EXIM BANK เพื่อนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าผันน้ำขึ้นที่สูงเพื่อให้สามารถทำเกษตรกรรมได้ตลอดปี

   

นอกจากนี้ ในปี 2567 ที่จะถึงนี้ EXIM BANK มีแผนเดินหน้าพัฒนาเครื่องมือทางการเงินใหม่ อาทิ สินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยสำหรับดำเนินธุรกิจที่คำนึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี (Environmental, Social and Governance : ESG) การระดมทุนเพื่อนำมาใช้กับโครงการที่เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเลโดยเฉพาะ หรือ Blue Bond วงเงิน 5,000 คาดว่าออกได้ช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 เช่น พาณิชยนาวีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนธุรกิจสีเขียวครอบคลุม Scope ที่ 1-2-3 (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง ทางอ้อมที่เกิดจากการใช้พลังงาน และทางอ้อมอื่น จากการดำเนินงานขององค์กร) เพื่อบรรลุเป้าหมาย 

     

EXIM BANK จะเพิ่มสัดส่วน Green Portfolio และที่เกี่ยวเนื่อง จาก 37% ในปัจจุบันให้เป็น 50% ภายในปี 2571 บูรณาการเชื่อมโยงทุกกระบวนการขององค์กรโดยคำนึงถึง ESG สู่เป้าหมาย SDGs โดยผู้ประกอบที่มีความพร้อมสามารถทำข้อตกลงเข้าสู่โครงการนี้ได้ จะได้รับการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากเฉลี่ยอยู่ที่ 9% จะปรับลดลงเหลือที่ราว 6.75% ได้

   

 

นอกจากนี้ EXIM BANK ยังเร่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันความเสี่ยงแก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยผ่านบริการประกันการส่งออกและการลงทุน โดย สิ้นไตรมาส 3 ปี 2566 ปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออกและการลงทุนเท่ากับ 148,429 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนของการสนับสนุนผู้ประกอบการทั้งด้านสินเชื่อและประกันของ EXIM BANK  สิ้นเดือนกันยายน 2566 มีจำนวนลูกค้า 6,138 ราย เพิ่มขึ้น 6.05% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วน Penetration Rate ต่อผู้ส่งออกทั้งประเทศ 18% ในจำนวนนี้ มีลูกค้า SMEs มากถึงกว่า 83%  สิ้นเดือนกันยายน 2566 EXIM BANK ได้ช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินแก่ผู้ประกอบการกว่า 27,800 ราย วงเงินรวมประมาณ 91,400 บาท

 

พร้อมกันนี้  ธนาคารสั่งตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตรา Prime Rate 6.75% ต่อปีจนถึงสิ้นปี 2566 เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวและภาคธุรกิจเร่งปรับตัวสู่ทิศทางโลกการค้ายุคใหม่

     

ในปี 2567 คาดว่า การส่งออกจะกลับมาฟื้นตัว เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนจากราคาสินค้าเกษตรส่งออกที่ปรับสูงขึ้น ปัญหา Supply Chain Disruption ที่คลี่คลาย สินค้าไทยโดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหารยังเป็นที่ต้องการอีกมาก ซึ่ง EXIM BANK จะเปิดดำเนินการครบ 30 ปีในปี 2567 ยังพร้อมทำหน้าที่ มากกว่าธนาคาร สนับสนุนให้ธุรกิจไทยมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น สามารถเติบโตในเวทีการค้าโลกยุคใหม่ได้อย่างยั่งยืน