PTTGCปลื้ม! โมเดล มาตรการบริหารจัดการภายในทำกำไร7 พัน หนุนปี66 พลิกโชว์กำไร – นักลงทุนสถาบันใน-นอกรุมขอพบธุรกิจชัดESG-ธนาคารรุมให้สินเชื่อ SLL กดต้นทุนการเงินถูกลง0.5%

Categories : Update News, Stock Market

Public : 02/18/2024

PTTGC เปิดแผนปี 67 เดินหน้า 3 กลยุทธ์หลัก ผลักดันองค์กร High Value Products- Low carbon

ปลื้ม! โมเดล มาตรการบริหารจัดการภายในทำกำไร7 พัน หนุนปี66 พลิกโชว์กำไร - นักลงทุนสถาบันใน-นอกรุมขอพบธุรกิจชัดESG-ธนาคารรุมให้สินเชื่อ SLL กดต้นทุนการเงินถูกลง0.5%

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO)บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC  เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินงาน ปี 2567

ด้วยปัจจัยภายนอกทั้งจากเมกะเทรนด์ต่างๆ Industry Landscape รวมถึงภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและการดำเนินธุรกิจ จึงทำให้การดำเนินงานในปี 2567 ยังคงมีความท้าทาย     GC จึงกำหนดทิศทางและทบทวนกลยุทธ์ 3 Steps Plus : Step Change, Step Out, Step Up ที่ดำเนินมาอย่างถูกทางแล้ว ให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น และปรับให้สอดคล้องกับ Industry Landscape ที่เปลี่ยนแปลงไป

“ ปี67 เราคาดหวังว่าปริมาณขายจะเพิ่มขึ้น 6-10% จากปี2566 ซึ่งอยู่ที่ 6.6แสนล้านบาท เนื่องจากปิดซ่อมบำรุงน้อยกว่าปีก่อน ขณะที่ Allnex ปริมาณการขายน่าจะดีขึ้นจากปีก่อนและการที่Allnex มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนสำคัญในรถEVก็จะสนับสนุนด้วย และถ้าหากราคาและมาร์จิ้นดีก็จะยิ่งสนับสนุนให้ ผลดำเนินงานดีขึ้น “ ประธานเจ้าหน้าที่บริหานกล่าว

ทั้งนี้ 3กลยุทธ์ ประกอบด้วย

Step Change: สร้างรากฐานแข็งแกร่ง ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพ การควบคุมค่าใช้จ่าย และ การพัฒนาความร่วมมือในมิติต่างๆ รวมถึงมุ่งเน้นการเติบโตทางธุรกิจที่เน้นตลาด (Market-Focused Business) โดยการเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Products: HVP) มีเป้าหมาย 56% ในปี 2571 และผลิตภัณฑ์นวัตกรรม

Step Out:  แสวงหาโอกาสใหม่เพื่อสร้างการเติบโต และดูแลด้านต้นทุนของ allnex พร้อมขยายตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพเเละผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน (Bio & Circularity) มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์รีไซเคิล รวมถึง Bio-Refinery โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องต่างๆ ได้มากมาย ทั้งในอุตสาหกรรมสุขอนามัยส่วนบุคคล อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ และอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ฯลฯ

Step Up: สร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ โดยดำเนินงานด้าน Decarbonization ให้เป็นไปตามเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2593 รวมถึงมุ่งมั่นรักษาความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ GC ยังวางแผนปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยการหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ และNon-Core Business และอยู่ระหว่างศึกษาธุรกิจใหม่เกี่ยวกับไฮโดรเจนและคาร์บอนโดยใช้จุดแข็งและความเชี่ยวชาญที่ GC มีในธุรกิจไฮโดรคาร์บอน สร้างความแตกต่างและผลตอบแทนทางธุรกิจในอนาคต มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ที่ได้วางไว้

ทั้งนี้ที่ผ่านมา ได้มีการลงนามความร่วมมือศึกษาเทคโนโลยีการพัฒนาโรงงาน     ปิโตรเคมีระหว่าง GC กับ บริษัท มิตซูบิชิ ฮีวี่ อินดัสทรี เอเชียแปซิฟิก จำกัด หรือ MHI-AP โดยมี                 2 เป้าหมายหลัก ได้แก่ ศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความเป็นไปได้ในการใช้ไฮโดรเจนและแอมโมเนีย เป็นเชื้อเพลิงสำหรับกังหันแก๊ส (Gas Turbine) และเทคโนโลยีการดักจับ จัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) ในกระบวนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และศึกษาหาแนวทางการปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพในระบบดักจับ จัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหมาะสมสำหรับกระบวนการผลิตไฮโดรเจน หรือ Steam Methane Reforming (SMR)

ผลการดำเนินงาน ปี 2566

ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจปิโตรเคมีโดยรวมยังคงอยู่ในภาวะอ่อนตัวอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความกดดันจากปัจจัยทั้งด้านภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ปลายทางของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และการเริ่มดำเนินการของกำลังการผลิตใหม่ในตลาดโดยเฉพาะจากประเทศจีน มีผลให้การดำเนินงาน     ของ GC ในปี 2566 มีรายได้จากการขายรวม 616,635 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 9 % จากราคาผลิตภัณฑ์กลุ่มปิโตรเลียมและปิโตรเคมีปรับลดลงในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ สะท้อนสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก

อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ยังคงมีผลกำไรสุทธิรวม 999 ล้านบาท      (0.22 บาท/หุ้น) ด้วยการมุ่งเน้นทำสิ่งที่ควบคุมได้ ดำเนินการมาตรการภายในอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง รวมถึงสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ ผ่านการดำเนินงาน ดังนี้

  • การพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินงานโครงการ MAX, dEX, MTPi, FiT และการลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่มเติมจากที่ควบคุมในแผนงบประมาณ (OPEX Saving) ซึ่งช่วยเพิ่มผลกำไร คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6,900 ล้านบาท
  • -จับมือ กลุ่มบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (WHA) ยกระดับบริษัท  จีซี โลจิสติกส์  โซลูชั่นส์ จำกัด (GCL) บริษัทใน GC Group เป็นบริษัทโลจิสติกส์ครบวงจร เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดยการขายหุ้น GCL สัดส่วน 50 % ให้กับ WHA คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,640 ล้านบาท โดยมีกำไรพิเศษที่เกี่ยวข้องจากรายการนี้ (รวมกำไรจากการตีมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนที่เหลือใน GCL) เป็นจำนวน 4,017 ล้านบาท

   - ลดภาระหนี้สินทางการเงิน ด้วยการซื้อหุ้นกู้สกุลเหรียญสหรัฐฯ โดยมีกำไรจากการซื้อคืนหุ้นกู้ดังกล่าวจำนวน 1,422 ล้านบาท

นางสาวภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี PTTGC กล่าวว่า กสรดำเนินการมาตรการภายในยังคงเป็นนโยบายที่สำคัญและทำต่อเนื่อง ในปีนี้ เพราะเป็นกานบริหารจัดการทรัพย์ภายในของGC ที่มีทรัพย์สินกว่า 7 แสนล้านบาทให้เกิดมูลค่า เป็นกานเพิ่มคุณค่าให้กับทุกๆยูนิตของธุรกิจGC ซึ่งปี 2566 ถือว่าเราทำได้ดีมาก เรามำกำไรเกิดขึ้น 7,000 ล้านบาท และเป็นจุดพลิกสำคัญที่ทำให้ GC มีกำไร ส่วนปีนี้จะเกิดขึ้นเท่าไรต้องรอดู

เรายังมีหนี้หุ้นกู้สกุลเงินเหรียญ อีก2,000 ล้านเหรีบญซึ่งก็ต้องดูจังหวะและโอกาส ซึ่งกาคดำเนินการปีที่ผ่านมา การซื้อคืนหุ้นกู้ นั้น เราทำถึงขั้นที่เรียกว่า แปลงหนี้เป็นกำไร ซึ่งเลยจากการแปลงหนี้เป็นทุน ซึ่งเรื่องแบบนี้จะต้องคิดและวางกลยุทธ์เพื่อให้เกิดประสิทธิผล”

อย่างไรก็ตามการที่GC มีธุรกิจที่ลดคาร์บอนชัดเจน มีการทำเรื่องESG เรื่องความยั่งยืน ทำให้ที่ผ่านมาได้รับความสนใจ ทั้งจากนักลงทุน และสาบันการเงินอย่างมาก โดยในแง่นักลงทุนนั้นมาขอพบขอข้อมูลต่างๆเพื่อประกอบการลงทุน เพราะเราเป็นหุ้นที่มี ESG ชัดเจนซึ่งตอนนี้สัดส่วนนักลงทุนต่างชาติถือหุ้นเรา20% สถาบันในประเทศ 20% และที่เหลือนักลงทุนทั่วไป

ส่วนสถาบันการเงินก็พร้อมให้สินเชื่อ SLL ซึ่งจะเห็นมากขึ้น ในสัดส่วนหนี้รวมของGC  และการมีเงินกู้ SLL ก็ทำให้ต้นทุนกานเงินถูกลง 0.3-0.5%แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ การเข้าถึงแหล่งเงินที่จะดีขึ้นไปอีก เพราะสถาบันการเงินต่างมีเป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อกรีนโลนเพิ่มขึ้นชัดเจน ขณะที่ธุรกิจที่มีโมเดล เรื่อง ESG ยังจำกัด ซึ่งก็เป็นโอกาสดี ที่จะเกิดขึ้นกับGCเพราะมีโอกาสได้แหล่งเงินที่มีต้นทุนถูกลงได้อีกในอนาคต