SCBกับภารกิจ “อยู่ อย่าง ยั่ง ยืน”เป้าสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน 1.5แสนล้านภายในปี 68

Categories : Update News, Finance

Public : 09/03/2024

ไทยพาณิชย์เดินหน้าภารกิจ “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ตั้งเป้าเป็นผู้นำพันธมิตรความยั่งยืนเคียงข้างลูกค้าสู่เป้าหมายNet Zero ผสานพลังเทคโนโลยีร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืน ยืนเป้าปล่อยสินเชื่อ เพื่อ ความยั่งยืน 1.5แสนล้าน!  มองยาวๆปี2050 พอร์จสินเชืีอ 2.3ล้านล้าน กรีนทั้งพอร์ต ลั่นชัดหยุดปล่อยสินเชื่อ ถ่านหินและขุดเจาะ

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธนาคาร มีเป้าหมายชัดเจน  ด้านความยั่งยืน ที่   เป็น โอกาสที่จะสร้างการขยายตัวให้เศรษฐกิจครั้งใหม่ได้อย่างมหาศาล โดยธนาคาร จะใช้ กลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch ที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของธนาคารซึ่งครอบคลุมถึงมิติด้านความยั่งยืน ที่มีการดำเนินงานด้านนี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมมาตลอด 3 ปี โดยมุ่งมั่นเป็นธนาคารชั้นนำแห่งความยั่งยืน ธนาคารจึงได้กำหนดแนวคิด ยู่ อย่าง ยั่งยืน” เพื่อเป็นหลักปฏิบัติที่จะนำการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในทุกคน

ภายใต้แนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ทุกภาคส่ววนต้อง ร่วมกันตั้งเป้าหมาย สร้างแรงกระเพื่อม ประสานความร่วมมือ เพื่อสร้างอนาคตให้เราทุกคนได้อยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน  ซึ่ง SCBเรายั่งยืนมา 117ปี แล้วและจะยืนหยัดต่อไปปอีก ใน 100 ปีข้างหน้าให้ได้

พร้อมทั้งจะ เข้าไปมี บทบาทการสนับสนุนความยั่งยืนด้วยการจัดสรรเงินทุนให้แก่ลูกค้า(Sustainable finance) กำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ (Responsible lending) พร้อมนำความแข็งแกร่งทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของธนาคารเข้าสนับสนุนการดำเนินงานความยั่งยืนทุกมิติ

ทั้งนี้ ธนาคารได้วางเป้าหมายสู่ความยั่งยืนใน 3 ระยะสำคัญ ได้แก่ 1) สนับสนุนลูกค้าเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้วยสินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนจำนวน 150,000 ล้านบาท ภายใน 2025  โดยปัจจุบัน ณ สิ้นไตรมาสที่ 2/2024 ได้สนับสนุนสินเชื่อไปแล้วกว่า 1.11 แสนล้านบาท (โดยนับตั้งแต่ปี 2023) 2) ปรับการดำเนินงานองค์กรสู่ Net Zero ภายในปี 2030 และ 3) เป็นธนาคารไทยแรกที่ตั้งเป้า Net Zero 2050จากการให้สินเชื่อและการลงทุนตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือ Science-Based Targets Initiative (SBTi) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลก ด้วยแผนการเปลี่ยนผ่านพอร์ตสินเชื่อทั้ง 2.3 ล้านล้านบาทสู่พอร์ตสินเชื่อสีเขียว

ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ธนาคารไทยพาณิชย์  กล่าวถึงกลยุทธ์เป้าหมาย Net Zero ของธนาคารเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของลูกค้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ว่า “ธนาคารวางกรอบพันธกิจในการผลักดันเป้าหมาย Net Zero สำหรับพอร์ตสินเชื่อและการลงทุน (Scope 3 Category 15 Investment) ภายในปี 2050 ตามมาตรฐาน SBTi (Science Based Targets Initiative) ซึ่งถือเป็นมาตรฐานแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด

 

 ธนาคารมีความมุ่งมั่นในการเป็น True partner ให้กับลูกค้าของเราตลอดเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งการสนับสนุนด้านการเงินที่ยั่งยืนผ่านผลิตภัณฑ์ (Sustainable Finance) ที่ครบถ้วนในทุกกลุ่มลูกค้าและอุตสาหกรรม ตลอดจนการให้ความรู้และคำแนะนำการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความพร้อมและความต้องการของลูกค้าผ่านการจับมือกับองค์กรพันธมิตรชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญในมิติต่างๆ ในการสร้างระบบนิเวศน์เพื่อสนับสนุนการลงมือปฏิบัติได้จริง และนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน  

โดยธนาคารดำเนินการผ่านกลยุทธ์ ไว้ 3 ด้าน ดังนี้

1)  การบริหารพอร์ตสินเชื่อของธนาคารให้สอดคล้องกับ Net Zero Target (Net Zero Financed Portfolio Management) ด้วยการวางแผนกลยุทธ์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มลูกค้ารายอุตสาหกรรม (Sector Decarbonization Strategy) โดยในธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ได้เป็นผู้นำด้านการปล่อยสินเชื่อโรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของไทยมายาวนาน โดยมีมูลค่าวงเงินอนุมัติสินเชื่อกว่า 1.98 แสนล้านบาทระหว่างปี 2011 ถึงปัจจุบัน ส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนในปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 61 ของพอร์ตโรงไฟฟ้าของธนาคาร เทียบเคียงธนาคารชั้นนำของโลก และทำให้ความเข้มข้นของการปล่อย GHG ต่อหนึ่งหน่วยการผลิตไฟในพอร์ตโรงไฟฟ้าของธนาคาร (ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหลักภายใต้วิธี Sectoral Decarbonization Approach (SDA))  มีการปรับตัวลดลง และอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าทั่วโลกและต่ำกว่าเส้นทางในการบรรลุ Net Zero 2050ตาม Paris Agreement โดยกลยุทธ์ในระยะถัดไป ธนาคารจะยังคงเพิ่มวงเงินสินเชื่อโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งต่อลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ เพื่อสนับสนุนความต้องการไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่มีเพิ่มมากขึ้น ควบคู่กับการลดการสนับสนุนพลังงานถ่านหิน ผ่านการทยอยลดสินเชื่อคงค้าง (Coal Phasing Out) และไม่ปล่อยสินเชื่อใหม่ให้แก่การขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับถ่านหิน

สำหรับกลุ่มธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือจากธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ธนาคารได้นำวิธี Implied Temperature Rise (ITR) ตามกรอบ SBTi มาใช้ในการวัดเป้าหมายและความคืบหน้าในการลดก๊าซเรือนกระจก โดยระดับอุณหภูมิของสินเชื่อของลูกค้าแต่ละรายจะขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่น (Commitment) ในการกำหนดเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกของลูกค้าที่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยจากผลสำรวจล่าสุดในกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่จำนวน 218 ราย ที่คิดเป็นร้อยละ 84ของสินเชื่อในกลุ่ม ITR ทั้งหมด (ยอดสินเชื่อทั้งหมด 4.99 แสนล้านบาท) พบว่า ระดับการตั้งเป้าหมายของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่มีความหลากหลาย โดยลูกค้าจำนวน 77 ราย ซึ่งมีสินเชื่อรวมคิดเป็นร้อยละ 47 ของยอดสินเชื่อในกลุ่มสำรวจทั้งหมดมีการกำหนดและประกาศเป้าหมายที่ครบถ้วน อย่างไรก็ดี ยังมีลูกค้าจำนวน 100 ราย ซึ่งมีสินเชื่อรวมคิดเป็นร้อยละ 35 ของยอดสินเชื่อในกลุ่มสำรวจทั้งหมด ยังไม่มีการเก็บข้อมูล GHGและไม่มีการตั้งเป้าหมายแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ด้วยกลยุทธ์ของธนาคารในการ engage กับลูกค้าเพื่อนำไปสู่การตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมกับบริบทของลูกค้าแต่ละราย ควบคู่กับการสนับสนุนด้านสินเชื่อเพิ่มเติมให้กับลูกค้าที่มีการประกาศเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้ระดับอุณหภูมิพอร์ตโฟลิโอของลูกค้ากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยปรับลงแล้วกว่า 0.19 องศาเซลเซียส จาก 2.84 องศาเซลเซียสจากปีฐาน 2021 มาอยู่ที่ 2.65 องศาเซลเซียส ในปี 2023 โดยธนาคารมีเป้าหมายจะทำให้ระดับอุณหภูมิของพอร์ตสินเชื่อลดลงสู่ระดับ 2.35 องศาเซลเซียส ภายในปี 2028 และ 1.50 องศาเซลเซียสในปี 2040  ซึ่งจะช่วยให้ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบรรลุ Net Zero ได้ในปี 2050