“Graphenix” เปิดตัวนวัตกรรม “ผ้าเส้นใยกราฟีน” เครื่องนุ่งห่มเพื่อสุขภาพ รักษ์ชีวิต รักษ์โลก รายแรกในไทย
Categories : Update News, ESG News
Public : 31/10/2024“ยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์” ซีอีโอ เปิดตัว “Graphenix” นวัตกรรม “ ผ้าเส้นใยกราฟีน” รายแรกในไทย ที่มุ่งดูแลเรื่องสุขภาพ- สินค้าทางการแพทย์ เป้ายอดขาย 2 ปี 500 ล้าน พร้อม ชี้ทางรอดธุรกิจสิ่งทอและ garment ต้องนำ นวัตกรรมมาใส่ในการผลิตสินค้าเพื่อยกระดับสู่กรีนพรีเมี่ยม -ปรับหมวดธุรกิจเพื่อเข้าสู่เทรนด์ใหม่
“ยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พาลาดิน เวิร์คแวร์ จำกัด ผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป แบรนด์ “Blue Bear” และ "Graphenix “ ผู้คร่ำหวอดในแวดวงสิ่งทอ เพราะเขาอยู่ในธุรกิจนี้มากว่า 30 ปี
จากธุรกิจที่อดีตเคยรุ่งโรจน์ทุกอีเวนท์ ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ กลุ่มธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะเป็นดาวเด่นออกไปยืนแถวหน้า … แต่ในยุคปัจจุบันธุรกิจสิ่งทออยู่อันดับท้ายๆๆ เหมือนจะถูกลืมเลือนไปแล้ว !!! แล้วธุรกิจนี้จะอยู่รอดได้อย่างไรในยุคที่เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วมาก การแข่งขันที่รุนแรง สินค้าราคาถูกจากจีนทะลักล้นเข้ามา ..
Wealth Plus today มีโอกาสสัมภาษณ์ ” ยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พาลาดิน เวิร์คแวร์ จำกัด ผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป แบรนด์ “Blue Bear” และ "Graphenix “ ในโอกาสเปิดตัว นวัตกรรมผ้าจากเส้นใย กราฟิน หรือ "ผ้ากราฟีน" แบรนด์ Graphenix แบรนด์แรกของไทย จากธาตุใหม่ของโลกที่สกัดมาจากแร่ธาตุ กราไฟท์
ยุทธนา กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอจะรอดได้ นั้น 1. จะต้องนำ นวัตกรรม และใช้อินโนเวชั่นร่วมทั้งต้องวิจัยและพัฒนาเพื่อ เพื่อนำมาต่อยอดพัฒนาสินค้าเสื้อผ้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม และจะต้องยกระดับสินค้าสู่เกรดพรี่เมี่ยม เพราะถ้าหากยังทำแบบเดิมๆ รอดลำบาก 2.จะต้องปรับหมวดธุรกิจใหม่จากที่เคยอยู่ในสิ่งทอจะต้องหาแนวทางในการยกระดับและย้ายหมวดแต่ยังมีรากฐานเดิมของธุรกิจเดิมเช่นการผลิตสินค้าเพื่อให้ด้านสุขภาพและการแพทย์และผันไปอยู่ในหมวดเฮลท์และการแพทย์เป็นต้นเพราะการทำในเรื่องเหล่านี้ จะเป็นโอกาสใหม่ทางธุรกิจและเพื่อการอยู่รอดในรุ่นถัดๆไป
“ ผมเองเข้าสู่ธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เมื่อ 30 ปีก่อนจากการเริ่มเข้าไปเป็นพนักงานงานในบริษัทที่ทำสิ่งทอและผลิตเสื้อผ้าให้แบรนด์ดัง หลังจากนั้นก็เข้ามาเริ่มต้นธุรกิจเอง เพราะยุคนั้น ธุรกิจสิ่งทอคือธุรกิจดาวเด่น ติดทำเนียบได้ร่วมงานอีเวนท์ สำคัญของประเทศมาโดยตลอด แต่ทุกวันนี้สถานการณ์เปลี่ยน ธุรกิจสิ่งทอ อยู่รั้งท้าย !! อนาคตประเทศไทย ก็จะเปลี่ยนจากผู้ผลิตและส่งออกสิ่งทอ เป็นผู้นำเข้าและเทรดดิ้งเท่านั้น ซึ่งชัดเจนหากดูตัวเลขล่าสุดการส่งออกของธุรกิจสิ่งทอ โต 2% ขณะที่การนำเข้าโตขยายตัว12% ซึ่งหากเป็นอย่างนี้ 2-3 ปีข้างหน้าเราจะกลายเป็นผู้นำเข้าเพราะสินค้าราคาถูกกว่า!!และเฉพาะการนำเข้ามาจากจีน ดังนั้นหากยังต้องอยู่รอดจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจสิ่งทอจะต้อวทรานฟรอมส์ตัวเอง และหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาร่วมในการพัฒนาสินค้า ”
ยุทธนา กล่าวว่า ในส่วนของ บริษัทได้วางแนวทางดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้นการใช้อินโนเวชั่น และกรีน เพื่อนำมาต่อยอดพัฒนาสินค้าเสื้อผ้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม
เดิม บริษัทผลิตเสื้อผ้ายูนิฟอร์ม ผ่านวิกฤตโควิด คนทำงานต้องเวิร์คฟอรมโฮม ตลาดชุดยูนิฟอร์มชะลอตัวลง จึงปรับโมเดลธุรกิจมองหานวัตกรรมมาช่วยสร้างจุดเด่นในการใช้งาน ประกอบกับหลังโควิดทั่วโลกเริ่มให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ทั้งยังให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย จึงนำมาสู่การออกแบบนวัตกรรมที่ตอบโจทย์สองเรื่องนี้ การปรับโมเดลธุรกิจมาผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแบบ function garment นับเป็นการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส สร้างจุดเปลี่ยนให้กับธุรกิจ
ทั้งนี้ บริษัทได้พัฒนานวัตกรรมผ้าจากเส้นใย กราฟิน หรือ "ผ้ากราฟีน" แบรนด์ Graphenix แบรนด์แรกของไทย จากธาตุใหม่ของโลกที่สกัดมาจากแร่ธาตุ กราไฟท์ ทำให้ผ้ากราฟีนมีจุดเด่นหลายด้าน จนเรียกว่าเป็น “วัสดุแห่งอนาคต” ที่จะมาแทนสินค้าหลายๆตัวในโลกนี้ คือ
1. ผ้ากราฟีน ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เพียงแค่ 10 วินาทีที่สวมใส่ โดยจะส่งผ่านอินฟราเรทเข้ามาเหมือนร่างกายได้รับแสงแดดตอนเช้าช่วยกระตุ้นให้ร่างกายมีออกซินเจนเพิ่มขึ้น เลือดลมไหลหมุนเวียนดี
2. แอนติแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ซึ่งเรื่องนี้มีอยู่ในคุณสมบัติของวัสดุเองโดยอัตโนมัติ
3.ยูวีโปรเทคชั่น 99.9% ทั้ง ยูวีเอ ยูวีบี สามารถป้องกันได้หมด
4. กราฟีนเป็นธาตุที่เบาที่สุดในโลก ดังนั้น เมื่อสวมใส่แล้วไม่ได้ทำให้รู้สึกหนาหรือหนัก ใส่สบายเหมือนเดิม หรือเบาบางกว่าเดิม ระบายอากาศได้ดีมาก ปรับอุณหภูมิตัวเองได้เป็น “ไครเมสคอนโทรล” เช่น ถ้าใส่ในอากาศร้อนก็จะรู้สึกเย็น หรือใส่ในอากาศเย็นก็จะรู้สึกอุ่น และยังลดไฟฟ้าสถิตได้ โดยคุณสมบัติเหล่านี้จะอยู่ตลอดอายุการใช้งานเลย เพราะฝังอยู่ในไฟเบอร์ และ
5. ช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทางสถาบันสิ่งทอคำนวนแล้วพบว่าลดการปลดปล่อยคาร์บอน เฉลี่ยสำหรับการใช้ผ้า 1 เมตร ลดการปล่อยคาร์บอนได้มากกว่า 10 กิโลคาร์บอน โดยได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ECO Tech จากยุโรป สะท้อนถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สำหรับวัสดุกราฟีนนั้น มีการวิจัยมาประมาณ 10 ปีแล้ว ผู้วิจัยวัสดุนี้มี 2 คน ได้รางวัลโนเบล โดยช่วงแรกกราฟีนยังมีราคาสูงจึงนิยมนำมาใช้เพียงในอุตสาหกรรมไฮแวลู เช่น เซมิคอนดักเตอร์ ออโตโมทีฟ ยา อิเล็กทรอนิกส์ หลังจากผ่านมา 6-7 ปี ความนิยมในการใช้แพร่หลายขึ้น จึงทำให้ราคาถูกลง ส่งผลให้ผู้ผลิตเสื้อผ้าในยุโรป อเมริกา ไต้หวัน จีน เริ่มหันมาใช้แพร่หลายมากขึ้น
“ ปัจจุบันราคากราฟีนที่ลดลงมาแล้ว แต่ยังสูงถึง กก.ละ เกือบ 1 ล้านบาท แต่ด้วยคุณสมบัติพิเศษ ทำให้แบรนด์ดังระดับโลกเริ่มออกผลิตภัณฑ์ที่ผสมกราฟินมาแล้ว แต่เราเป็นแบรนด์แรกในไทยและในการนำมาผสมจะมีสัดส่วนไม่มาก ”
ยุทธนา กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของบริษัทได้เริ่มพัฒนาผ้ากราฟีนเมื่อ 2 ปีก่อน โดยได้งบประมาณจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) จัดสรรทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรมให้ หลังจากผลงานวิจัยประสบความสำเร็จ ในขณะนี้อยู่ระหว่างการจดสิทธิบัตร เพิ่มเติมจากก่อนหน้านี้ ที่ได้จดคุ้มครองแบรนด์สินค้าแล้ว
เริ่มนำมาพัฒนาและจำหน่าย เลคกิ้ง เพิ่มส่วนผสมคอลลาเจนแบรนด์แรกของไทย ตัวละ 2,000 บาท และผ้าห่มจากกราฟีน โดยผ่านช่องทางจำหน่ายออนไลน์ แพลตฟอร์มอี คอมเมิร์ช ได้แก่ https://graphenixthailand.com/ Line : @graphenix หรือ https://lin.ee/2pZk8E8 Tiktok : graphenix_th หรือ https://www.tiktok.com/@graphenix_th?_t=8pvmM5WDILn&_r=1, Shopee : Graphenix_TH หรือhttps://shopee.co.th/graphenix_th?categoryId=100636&entryPoint=ShopByPDP&itemId=
นอกจากนี้ บริษัทได้ร่วมกับโรงพยาบาลรัฐชั้นนำแห่งหนึ่งในการพัฒนา “ผ้ารัดขาแก้ปัญหาเรื่องเส้นเลือดขอด” โดยโรงพยาบาลเป็นผู้ออกแบบ และนำไปจดสิทธิบัตร ส่วนบริษัทเรามีวัตถุดิบผ้ากราฟีน และมีกระบวนการตัดเย็บ และตรวจสอบ จึงได้ร่วมกันนำมาพัฒนาร่วมกันเป็นสินค้าตัวใหม่ที่มีสิทธิบัตรร่วมกัน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทดสอบทางคลินิก คาดว่าจะสำเร็จในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2567 และเริ่มวางตลาดได้ช่วงธันวาคมถึงต้นปี 2568 โดยมีเป้าหมายรายได้ปีแรก 50 ล้านบาท และอนาคตจะมีการขยายตลาดไปต่างประเทศและผลิตเป็นวัตถุดิบขายกับบริษัทที่ต้องการ และรับจ้างผลิตสินค้าด้วย ซึ่งถ้าหากเป็นไปตามแผนช่วง2ปีนับจากนี้ก็มีโอกาสที่จะเห็นยอดขายในระดับ 500 ล้านบาทได้
“ จะทำตลาดในประเทศก่อน เพราะผ้ารัดขาแก้เส้นเลือดขอดมีตลาดที่กว้างมาก เพราะจัดอยู่ในกลุ่มที่สามารถเบิกในประกันสังคมได้ แค่เพียงออร์เดอร์นี้ก็จะเป็นไปตามเป้าหมาย 50 ล้านบาทแล้ว แต่ยิ่งกว่านั้น เรามองถึงประโยชน์ที่สำคัญจากการพัฒนานวัตกรรมนี้จะช่วยให้ไทยผลิตสินค้าเองทดแทนการนำเข้าได้ ทั้งยังช่วยให้ราคาถูกลงครึ่งหนึ่ง และยังมีคุณสมบัติดีขึ้นอย่างมาก”
บริษัทยังอยู่ระหว่างพัฒนา "เสื้อกันรังสี" สำหรับใช้ในห้องเอ็กซ์เรย์ หากสำเร็จจะสามารถใช้แทนเสื้อตะกั่วที่มีน้ำหนักเป็นสิบกก.ได้ เพราะเสื้อจากเส้นใยกราฟีนน้ำหนักเหลือไม่ถึง 1 กก. และป้องกันได้ดีเกือบเท่าตะกั่ว
สำหรับแนวโน้มตลาดเครื่องนุ่งห่ม ปี 2567 ว่า ยังต้องเผชิญกับความท้าทายของเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว ส่วนตลาดส่งออกถือว่าทรงๆ เห็นจากยอดส่งออกเสื้อผ้า 9 เดือนแรกปี 67 ยังโตบวก 3-4% ยังถือว่าดี ส่วนสิ่งทอติดลบ 7-8% ขณะที่ตัวเลขเรายอดขายลดลงเล็กน้อย แต่กำไรดีขึ้น เพราะเราขายได้ราคาสูงขึ้นจากสินค้าที่มีนวัตกรรมได้กลุ่มลุกค้าที่มีมาร์จินดีขึ้น เพราะสนใจเรื่องกรีน ส่วนแนวโน้มปี ปี 2568 เป็นห่วงแค่สถานการณ์โลก ส่วนสถานการณ์ตลาดในประเทศ การเมืองเริ่มมีเสถียรภาพ แนวโน้มดอกเบี้ยลดลงนิดหน่อย และการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบจะมีส่วนเข้ามาช่วยเสริม