แผนยุทธศาสตร์ 3 ปี ก.ล.ต มุ่ง  มุ่งบรรลุเป้าหมายหลัก 4 ด้าน-พร้อมเปิดสถิติการบังคับใช้กฎหมายปี67 ทั้งอาญาและมาตรการทางแพ่งมีค่าปรับทางแพ่ง696 ล้านบาท 

Categories : Update News, Stock Market

Public : 12/11/2024
   

 แผนยุทธศาสตร์ 3 ปี ก.ล.ต มุ่ง  มุ่งบรรลุเป้าหมายหลัก 4 ด้าน คาดประกาศ ช่วงปลาย ม.ค.นี้  พร้อมเปิดสถิติการบังคับใช้กฎหมายปี67  รดำเนินคดีอาญา จากการกระทำอันไม่เป็นธรรมและทุจริตรวม 13 คดี  ดำเนินการตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง 10 คดี จำนวนผู้กระทำความผิด 53 ราย เ มีค่าปรับทางแพ่งและชดใช้เงินเท่าผลประโยชน์ที่ได้รับรวม 696 ล้านบาท 

นายเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการและโฆษก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยภายในงาน "Media Briefing ก.ล.ต. พบสื่อมวลชน เดือน ธ.ค.67" ว่าสำนักงาน ก.ล.ต.เตรียมประกาศแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี (ปี 68 – 70) ภายในวันที่ 30 ม.ค.68 โดยจะมีนายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาร่วมงานด้วย หลังที่ประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติเห็นชอบตั้งแต่วันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว

 

ทั้งนี้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์อยู่ภายใต้กรอบและกระบวนการที่พิจารณาครอบคลุมปัจจัยต่างๆในทุกมิติสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้การกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ควบคู่กับการรักษาสมดุลทั้งด้านการกำกับดูแลและด้านการพัฒนาตลาดทุนไทยในทุกมิติ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งบรรลุเป้าหมายหลัก 4 ด้าน ได้แก่

 

1.การสร้างความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุน (Trust & Confidence) โดยจะมีการดูตั้งแต่บริษัทที่เข้ามาระดมทุนและฝั่งผู้ประกอบการ รวมถึงการบังคับใช้กฏหมายให้รวดเร็วขึ้นผ่านการปรับกระบวนการต่างๆ

 

2.การขับเคลื่อนให้ตลาดทุนเป็นแรงส่งสำคัญสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Technology) โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆในการขับเคลื่อนตลาดทุนไทย

 

3. นำตลาดทุนเป็นกลไกไปสู่ความยั่งยืน (Sustainable Capital Market)

 

4.สร้างผู้ลงทุนให้มีความรู้เรื่องการเก็บเงินออมและรองรับยามเกษียณอายุ (Financial well-being)

 

ส่วนแนวทางการพัฒนาระบบนิเวศหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ (Digital Securities Ecosystem) ของตลาดทุนไทยนั้น คาดว่าการแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์จะแล้วเสร็จและประกาศใช้บังคับใช้ได้ในช่วงต้นปี 68 หรือไม่เกินช่วงไตรมาส 2/68 โดยการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวคาดว่าจะช่วยเรื่องระบบการซื้อขายให้รวดเร็วขึ้น และช่วยลดต้นทุนการดำเนินการ รวมถึงช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้ลงทุนว่าจ่ายเงินไปจะได้ของอย่างแน่นอน เพราะระบบดังกล่าวจะมีการดำเนินการผ่านเทคโนโลยี Blockchain

 

ด้านความคืบหน้ากองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) พบว่า ณ วันที่ 9 ธ.ค.67 มีกองทุน Thai ESG ทั้งหมด 38 กองทุน มูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท เพิ่มจากสิ้นปี 66 จำนวน 16 กองทุน มูลค่าราว 5,000 ล้านบาทโดยเป็นกองทุนที่ขอจัดตั้งใหม่ 16 กองทุน นอกจากนี้ มี 3 กองทุนเป็นกองทุน Thai ESG เดิมที่ขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่ม class Thai ESG (ผู้ลงทุนสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เช่นเดียวกับกองทุน Thai ESG ที่จัดตั้งใหม่)

 

อย่างไรก็ตามเรื่องการบังคับใช้กฎหมายปี 67 พบว่ามีการดำเนินคดีอาญา จากการกระทำอันไม่เป็นธรรมและทุจริตรวม 13 คดี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 8 คดี และมีมาตรการลงโทษทางแพ่ง 10 คดี จำนวนผู้กระทำความผิด 53 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มี 7 คดี จำนวนผู้กระทำความผิด 22 ราย โดยมีค่าปรับทางแพ่งและชดใช้เงินเท่าผลประโยชน์ที่ได้รับรวม 696 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 104 ล้านบาท ซึ่งมองว่าการบังคับใช้กฎหมายไปได้ดี ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้แบบนี้เชื่อว่าระยะยาวจะสร้างความเชื่อมั่นต่อตลาดทุนได้

 " การออกเกณฑ์และเข้มในการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้นเ  ให้ดำเนินการกับผู้กระทำความผิดได้อย่างรวดเร็วก็เชื่อว่าจะส่งให้เกิดเชื่อมั่นมีทิศทางที่เริ่มดีขึ้น ซึ่งสะท้อนได้จากเทรนด์วอลุ่มการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นที่ปรับตัวดีขึ้น โดยปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50,000 ล้านบาทต่อวัน จากช่วงต้นปีที่อยู่ระดับ 40,000 ล้านบาทต่อวัน "

 สำหรับกรณีนายพันธ์ธวัช นาควิสุทธิ์ หรือที่รู้จักกันในนาม “นอท กองสลากพลัส” ได้เข้ามาเทคโอเวอร์ บมจ.อีเทอเนิล เอนเนอยี (EE) ซึ่งส่งผลให้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และได้รับสิทธิ์ในตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทนั้น มองว่าตามหลักการทั่วไปเวลา ก.ล.ต.จะแบนใครไม่ให้มีส่วนร่วมในตลาดทุน หลักคิดของเราต้องมั่นใจว่าคนนั้นเป็นคนไม่ดีระดับหนึ่ง ซึ่งแปลว่าหากก.ล.ต.เห็นพฤติกรรมเองและได้มีการตรวจสอบแล้วพบการกระทำความผิดจริง เช่น กรณีผู้บริหารมีการทุจริต เป็นอันนี้จะเข้าข่ายลักษณะขาดความน่าไวว้างใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คณะกรรมการ ก.ล.ต.)

 

อย่างไรก็ตามในกรณีที่เป็นความผิดอื่นๆที่สำนักงาน ก.ล.ต.ไม่ได้พบการกระทำเองก็จะต้องมีคนที่ชี้ให้ได้ก่อนว่าเขาผิดจริง ซึ่งถ้าเผื่ออยู่ระหว่างดำเนินคดีหรือยังไม่ถูกพิพากษาถึงที่สุดทางกฎหมายก็ถือว่ายังไม่เข้าข่ายลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท