“CPF” เปิดแผนธุรกิจปี 68 ปรับพอร์ตเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปต่อเนื่องส่งออกสะดวก สร้างรายได้และกำไรเติบโตมั่นคง มั่นใจปีนี้ โตต่อเนื่อง – เดินหน้าทำธุรกิจแบบยั่งยืน พร้อม ดึงธุรกิจ SME ในซัพพลายเชนสู่ความยั่งยืน

Categories : Update News, Stock Market, ESG News

Public : 01/09/2025

“CPF” เปิดแผนธุรกิจปี 68 ปรับพอร์ตเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปต่อเนื่องส่งออกสะดวก สร้างรายได้และกำไรเติบโตมั่นคง มั่นใจปีนี้ โตต่อเนื่อง - เดินหน้าทำธุรกิจแบบยั่งยืน พร้อม ดึงธุรกิจ SME ในซัพพลายเชนสู่ความยั่งยืน

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ดําเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร มีการลงทุนและร่วมลงทุนใน 17 ประเทศ และมีการการค้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และอาหารมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก เปิดเผยถึงแผนการทำธุรกิจในปี 2568 ว่า บริษัยังคงดำเนินนโยบายการทำธุรกิจด้วยความระมัดระวังเพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกรวมถึงเศรษฐกิจไทยด้วย และยังต้องติดตามการก้าวขึ้นมาดำรงดำแหน่งของ “ทรัมป์” ในยุคที่ 2 ว่ามีนโยบายต่างๆ จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของโลกอย่างไร เพราะมีผลต่อการทำธุรกิจและการลงทุน

“ ในวันที่ 15-16 มกราคมนี้ ทีมผู้บริหารบริษัทจะเดินทางเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เพื่อสวัสดีปีใหม่และถือโอกาสหารือในเรื่อง FTA ระหว่างไทยและสหรัฐด้วยเพราะมองว่าจะเป็นประโยชน์โดยรวมกับประเทศไทยและรองรับนโยบายต่างๆของทรัมป์ได้ “ นายประสิทธิ์กล่าว

อย่างไรก็ตามในส่วนของ CPF นั้นเราไม่ได้มีการลงทุนตรงในสหรัฐอเมริกาเลยเคยไปทดลองทำธุรกิจที่สหรัฐอเมริกาเรื่องหมู เมื่อ2ปีก่อนเพื่อทดลองตลาดแต่ตอนนี้ได้ยุติไปแล้วเพราะการบริโภคหมูในสหรัฐไม่ได้เป็นที่นิยมนัก

สำหรับงบลงทุนของบริษัทไม่ได้แตกต่างจากปีก่อนๆ และ ไม่มีการลงทุนโครงการใหญ่ๆ ส่วนมากจะเป็นงบในการปรับปรุงขบวนการผลิตของบริษัทให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน และ การการเปลี่ยนผ่านในการนำพลังงานสะอาดที่ในขบวนการผลิต และการผลักดันการทำธุรกิจของบริษัทเข้าสู่ Net Zero ตามเป้าหมายที่วางไว้ ในปี 2050 “ซีพีเอฟ ยกเลิกการใช้ถ่านหิน สำหรับกิจการในไทยและกิจการต่างประเทศ ตามเป้าหมาย Coal Free 2022 และหันมาใช้พลังงานจากชีวมวลทดแทน ส่งผลให้กิจการในไทย สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการยกเลิกใช้ถ่านหินได้ 220,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เเทียบเท่า”

ทั้งนี้ นโยบายของ “ซีพีเอฟ” ไม่ได้เดินไปเดี่ยวๆ แต่จะดึงธุรกิจเอสเอ็มอีที่อยู่ในซัพพลายเชน ของบริษัทเข้าสู่การทำธุรกิจแบบยั่งยืนด้วยซึ่งจะเริ่มต้นกับเอสเอ็มอี ประมาณ 100 รายก่อนโดยจะเข้าไปให้คำปรึกษาและการยกระดับการทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนเพื่อที่จะได้เดินไปพร้อมๆกัน

นายประสิทธิ์ กล่าวว่า บริษัทยังคงเดินหน้าในการปรับพอร์ตธุรกิจภายในอย่างต่อเนื่องระหว่าง ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปและธุรกิจที่ปร เภทคอมมูนิตี้ ที่ปัจจุบันสัดส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปได้เข้ามามีบทบาทและมีสัดส่วนต่อรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดขยับขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 22% หรือมาณ 5-6 หมื่นล้านบาท เพราะผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป มีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยว และสามารถส่งออกและ มีราคาที่ดีกว่าอาหารสด ดังนั้นบริษัทจะเร่งในการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปมากขึ้น เพราะสามารถสร้างรายได้และกำไรได้ดีรวมถึงเป็นรายได้และกำไรที่มั่นคงและจะทำให้โครงสร้างรายได้ของบริษัทมีเสถียรภาพ ลดความผันผวนจากการขึ้นลงทุนของราคาเนื้อสัตว์หรือสินค้าที่เป็นคอมมูนิตี้ได้

“ ทุกวันนี้การส่งออกเนื้อสัตว์ลดลงต่อเนื่องและมาอยู่อันดับ 3 จากก่อนที่อยู่ในอันดับต้นๆเพราะบริษัทจะมุ่งเน้นในการ ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปมากขึ้น ขณะที่วงจรของราคาหมูนั้นเริ่มยาวขึ้นจากเดิมที่จะตกต่ำ 1 ปีและราคาดี 4 ปีตอนนี้ภาวะการตกต่ำ ลากยาวถึง 2 ปี ถึงแม้ ในส่วนของธุรกิจการเลี้ยงหมูบริษัทจะเลี้ยงเองเพียง 10% เท่านั้นของปริมาณการเลี้ยงหมูกว่า 5-6 ล้านตัวต่อปี “ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารซีพีเอฟกล่าว

สำหรับเป้าหมายรายได้ปีนี้น่าจะดีต่อเนื่องจากปีก่อนเพราะราคาวัตถุดิบลดลง ขณะนี้ความต้องการบริโภคมีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะในส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ที่ได้รับการตอบรับดี และอาหารไทยในต่างประเทศเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้น ทุกวันนี้ บริษัทมีผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปหลายพัน SKU โดยมีไก่ทอด เป็นพระเอกที่ได้รับความนิยม มีการส่งออกจำนวนมาก

ทั้งนี้ในงวดไตรมาส3 ปี 2567 CPF กําไรสุทธิ 7,309 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 504 % เมื่อ เทียบงวดเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุน 1,810 ล้านบาทเป็นผลมาจากการมีอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้น และการได้รับส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมและร่วมทุนที่ดีขึ้น และ มี รายได้จากการ ขาย 142,703 ล้านบาท เป็นส่วนของกิจการต่างประเทศ 62 % และกิจการในประเทศ 38 % “ ซีพีเอฟมีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 15.4% เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.0 ของไตรมาส 3 ปี 2566 จากระดับราคาสุกรที่อยู่ในระดับสูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะระดับราคาสุกรในประเทศเวียดนามที่สูงกว่าปีก่อนจากภาวะปริมาณสุกรลดลงจากโรคระบาดที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ในหลายประเทศลดลงที่เป็นผลจากการบริหารจัดการด้านประสิทธิภาพในการผลิตที่ดีขึ้น และระดับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ลดลงจากปีก่อน รวมถึงการบริหารการวิจัยและสรรหาวัตถุดิบทดแทนที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมด้วยต้นทุนที่ลดลง “