ตลาดหุ้นกู้ปี‘68ซึม! ! ผิดนัด-ยืดเวลาชำระทุบความเชื่อมั่น ซ้ำ สหกรณ์ออมทรัพย์นักลงทุนสถาบันรายใหญ่ที่ลงทุนหุ้นกู้อยู่กว่า 5 แสนล้าน ถูกคุมเพดานลงทุนแค่1เท่าทุนเรือนหุ้น เท่านั้น!!!

Categories : Update News, Stock Market

Public : 01/09/2025

ตลาดหุ้นกู้ปี‘68 ซึม! ! ผิดนัด-ยืดเวลาชำระทุบความเชื่อมั่น ซ้ำ สหกรณ์ออมทรัพย์นักลงทุนสถาบันรายใหญ่ที่ลงทุนหุ้นกู้อยู่กว่า 5 แสนล้าน ถูกคุมเพดานลงทุนแค่1เท่าทุนเรือนหุ้น เท่านั้น!!! คาดทั้งปียอดออก8.5-9แสนล้านต่ำกว่าปี67 ทั้งปี9.13แสนล้าน ขณะที่หุ้นกู้ BBB ขายยากต้นทุนพุ่ง 0.51%  มั้งปีเงินไหลออก6.7หมื่นล้านกดยอดถือครองสุทธิลดเหลือ 8.5แสนล้าน ลดจากปีก่อน

 

น.สอาริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการสมาคมตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) เปิดเผยถึงภาพรวมการออกตราสารหนี้เอกชน(หุ้นกู้) ในปี2567 ว่า   การออกหุ้นกู้ภาคเอกชนทั้งปี มีมูลค่า 9.13แสนล้านบาท ลดลง 10% จากปีที่แล้วและต่ำกว่าคาดการณ์ที่ตั้งไว้ว่าจะออก1ล้านล้าน เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวและ นักลวทุนมีความกังวลจากการผิดนัดชำระและขยายระยะเวลาการชำระของหุ้นกู้ที่ครบกำหนดเกิดขึ้นโดยเฉพาะหุ้นกู้กลุ่ม High yield มีอัตราการออกลดลงมากกว่ากลุ่ม Investment grade สะท้อนถึงความกังวลและการระมัดระวังการลงทุนของผู้ลงทุนในปีที่ผ่านมา

 “ ปี67 มีหุ้นกู้17 บริษัทมูลต่า รวม 3.7 หมื่นล้านที่ครบกำหนดและขอยืดระยะเวลาออกไป ซึ่งเป็นรายใหม่12บริษัท ส่วนปีนี้การยืดชำระของหุ้นกู้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องไหมยังต้องติดตามใกล้ชิด”

ทั้งนี้ในปี 2568 มีหุ้นกู้ที่จะครบกำหนด 8.9แสนล้านบาท  โดย85% เป็นหุ้นกู้ระดับเรตติ้งน่าลงทุน และ15% เป็นไฮยีลบอนด์ และจะครบกำหนดชำระมากสุดในช่วงไตรมาส2 จำนวนกว่า 2 แสนล้านบาท  ซึ่งสถานการณ็จะเป็นอย่างไร  ต้องติดตามใกล้ชิด

  นอกจากนี้ความต้องการลงทุนในหุ้นกู่ในปี68 ก็จะได้รับผลกระทบจาก การทีี สหกรณ์ออมทรัพย์ซึ่งเป็นนักลงทุนวถาบันที่เข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ปนะมาณ 5แสนล้าน หรือ 12% ของมูลค่าคงค้างของหุ้นกู้ทั้งหมด จะถูกควบคุม หลังกนมบัญชีสหรกรณ์ ได้ออกเกฯฑ์การลงทุนใหม่เมื่อปลายปี 2567  โดยดำกนดว่า สหกรณ์จะลงทุนหุ้นกู้ได้ 1 เท่าของทุนเรือนหุ้ย/ทุนชำระแล้ว เท่านั้น จากปัจจุบันที่ลวทุนกัน 3-4เท่าของทุนเรือนหุ้นจะต้องมีการปรับพอร์ตและลดกานลงทุนลงให้ได้ตามเกณฑ์ภายในระยะเวลา 10ปี

“ สหกรณ์จะลบทุนหุ้นกู้ระดับA ขึ้นไป ซึ่งหลังจากนี้ก็ต้องติดตามดูการปรับพอร์ต”

ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่าปี 2567มูลค่าคงค้างตลาดตราสารหนี้ไทยปี 2567 เท่ากับ 17.1 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.6% จากปีที่แล้ว จากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลเป็นสำคัญ

 

สำหรับ ESG bond ในปี 2567เท่ากับ 179,192 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาโดยในปีนี้รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการคลังออกพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond: SLB) เป็นรุ่นแรก มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท และเป็นรุ่นแรกที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศในเอเชีย นอกจากนั้น ในปีนี้มีผู้ออก ESG bondรายใหม่จากรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนรวม 6 ราย ปัจจุบันจึงมีผู้ออก ESG bond รวม 35 ราย มูลค่าคงค้าง ESG bond เท่ากับ 815,402 ล้านบาท คิดเป็น 4.7% ของมูลค่าคงค้างตลาดตราสารหนี้ไทย

เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย (Government bond yield curve) ในปี 2567 มีลักษณะ Bullish Flattening ที่เส้น Bond yield ปรับตัวแบนราบมากขึ้นจากการที่ Bond yield รุ่นอายุ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลงราว 32-40 bps. มากกว่าBond yield รุ่นอายุต่ำกว่า 1 ปี โดย ณ สิ้นปี 2567Bond yield ไทยรุ่นอายุ 2 ปี 5 ปี และ 10 ปี ปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 2.02% 2.10% และ 2.30% ตามลำดับ

เส้นอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชน (Corporate bond yield curve) ในปี 2567 ของหุ้นกู้อันดับเครดิต AAA ถึง A  ปรับตัวลงในช่วง 29-33 bps. ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ขณะที่หุ้นกู้อันดับเครดิต BBB+ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 15 bps. จากการระมัดระวังการลงทุนของผู้ลงทุน โดย ณ สิ้นปี 2567 อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนรุ่นอายุ 5 ปี ของหุ้นกู้กลุ่ม AAA  AA  A และ BBB+ เท่ากับ 2.81% 2.99% 3.27% และ 4.67% ตามลำดับ

“ ผลจากการขยายและยืดเวลาชำระหุ้นกู้ทำให้ต้นทุนของหุ้นกู้ BBBปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.51% ”

ขณะที่กระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศ (Fund flow)ของนักลงทุนต่างชาติในปี 2567 เป็นการขายสะสมสุทธิ ตราสารหนี้ไทยจำนวน 67,395 ล้านบาท เป็นผลรวมของการขายสุทธิตราสารหนี้ไทย 125,959 ล้านบาทในสองไตรมาสแรกกับไตรมาสที่สี่ และการซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทย 58,561 ล้านบาทในไตรมาสที่สามทำให้การถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ ณ สิ้นปี 2567 เท่ากับ 8.7 แสนล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 5%ของมูลค่าคงค้างตลาดตราสารหนี้ไทย โดยตราสารหนี้ไทยที่ต่างชาติถือครองมีอายุคงเหลือเฉลี่ย 8.7 ปี เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 8.6 ปีเมื่อสิ้นปี 2566

[caption id="attachment_69529" align="alignnone" width="562"] Screenshot[/caption]
ทั้งนี้ ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ได้กล่าวถึงผลการสำรวจการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2568 ที่ผู้ร่วมตลาดส่วนใหญ่คาดว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาประมาณ 2 ครั้ง รวม 0.50% เหลือ 1.75% จากปัจจุบันที่ 2.25% โดยจะเริ่มมีการปรับลดในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี สำหรับการคาดการณ์ Bond yield ไทยในปี 2568 ผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าBond yield ไทยรุ่นอายุ 5 ปี และ 10 ปี จะปรับตัวลงเฉลี่ย 5-15 bps. จากปลายปี 2567 จากปัจจัยเรื่องทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ  ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยกับสหรัฐฯ และกระแสเงินลงทุน (Fund Flow) เป็นสำคัญ