สงครามทางการค้าที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น- ความไม่แน่นอนการเมืองในประเทศ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย

Categories : Update News, Finance, Economy

Public : 18/03/2025
 

กรุงศรีมอง สงครามทางการค้าที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น- ความไม่แน่นอนการเมืองในประเทศ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย

 

เศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้า (ii) ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองในประเทศ และ (iii) สงครามทางการค้าที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นซึ่งนับเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่กลับมาปรับตัวลงและนับว่าอยู่ในระดับที่ยังต่ำอยู่มากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด  (ปี 2562 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่75.5) สะท้อนความอ่อนแอของการบริโภคแม้ในช่วงต้นปีจะมีปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านโครงการแจกเงินสด 10,000 บาท ระยะที่ 2 แก่กลุ่มผู้สูงอายุ (กว่า 3 ล้านคน) และโครงการ Easy-E-Receipt อีกทั้งล่าสุดรัฐบาลเห็นชอบโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000บาท แก่กลุ่มอายุ 16-20 ปี (ประมาณ 2.7 ล้านคน) คาดจะแจกได้ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม

สำหรับแนวโน้มการบริโภคภาคเอกชนในปีนี้ วิจัยกรุงศรีคาดว่าจะเติบโตเพียง 2.8% ชะลอลงจาก 4.4% ในปี 2567 ส่วนหนึ่งได้รับแรงกดดันจากกำลังซื้อของแรงงานที่ฟื้นตัวได้ช้า สะท้อนจากค่าจ้างที่แท้จริงโดยเฉลี่ยในปี 2567 เพิ่มขึ้นเพียง 3.2% จากค่าเฉลี่ยในปี 2562 (ก่อนโควิด) และที่น่ากังวลไปกว่านั้น กลุ่มแรงงานที่มีรายได้น้อยสุด (ต่ำกว่า 7,800 บาทต่อเดือน) ซึ่งมีสัดส่วนราว 20% หรือประมาณ 6.7 ล้านคน ยังคงมีค่าจ้างที่แท้จริงต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิดอยู่ค่อนข้างมาก (ดังรูป)

รัฐบาลเตรียมผลักดันหลายโครงการเพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้ตามเป้า การประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ได้มีการหารือถึงแผนในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ (3-3.5%) ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ด้าน จำนวน 12 โครงการ (ดังตาราง)  

โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจข้างต้น สำหรับบางโครงการมีความชัดเจนบ้างแล้ว เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3 ส่วนโครงการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและการท่องเที่ยว คาดว่าจะทยอยมีรายละเอียดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้านการลงทุนภาครัฐคาดว่าต้องอาศัยเวลากว่าจะเห็นผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ ส่วนโครงการด้านการลงทุนภาคเอกชนและด้านการส่งออกสินค้ายังมีความไม่ชัดเจนท่ามกลางปัญหาเชิงโครงสร้างและความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรง