ตลาดหลักทรัพย์ฯ ผนึกเฟทโก้ และ กสศ. ชวนภาคธุรกิจบริจาคคอมพิวเตอร์แก่โรงเรียนที่ขาดแคลน ในโอกาส 50 ปี ตลาดหลักทรัพย์ฯ

Categories : Update News, Stock Market, ESG News

Public : 20/03/2025
ตลาดหลักทรัพย์ ร่วมกับ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ชวนภาคธุรกิจเข้าร่วม โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อเด็กไทย ใส่ใจเรื่องการเงิน”
ตั้งเป้าบริจาคคอมพิวเตอร์พร้อมติดตั้งชุดความรู้ทางการเงิน 5,000 เครื่อง ภายใน 5 ปี ให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทั้งทักษะด้านดิจิทัลและบริารการเงินตั้งแต่วัยเรียน

ในโอกาสครบรอบการดำเนินงาน 50 ปี ในปี 2568ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนิน “โครงการ 50 ปี                   ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนทำความดีเพื่อสังคม” ผ่าน 3 โครงการเพื่อประโยชน์แก่สังคม โดยหนึ่งใน 3 โครงการดังกล่าว คือ โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อเด็กไทย ใส่ใจเรื่องการเงิน” ซึ่งโครงการนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ดำเนินการร่วมกับ                 สภาธุรกิจตลาดทุนไทย และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยมุ่งหวังที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาพร้อมปลูกฝังความรู้ด้านการเงินก่เยาวชนไทย

นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการ 50ปี                 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนทำความดีเพื่อสังคม เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนาตลาดทุน แต่ยังดูแลรับผิดชอบการพัฒนาเพื่อสังคม ส่งเสริมให้มีรากฐานและคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านการดำเนิน “โครงการ คอมพิวเตอร์เพื่อเด็กไทย ใส่ใจเรื่องการเงิน โดยมุ่งหวังที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงสื่อดิจิทัลและแหล่งความรู้ออนไลน์เพื่อการพัฒนาตนเอง ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นตัวกลางเชื่อมโยงภาคธุรกิจ                 ให้มาร่วมกันบริจาคคอมพิวเตอร์โดยมีเป้าหมาย 5,000 เครื่อง ภายใน 5 ปี อีกทั้ง ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังจะสนับสนุนข้อมูลความรู้  ด้านการเงินด้วยการติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะส่งมอบให้แก่โรงเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การออมการลงทุน ปลูกฝังความรู้ด้านการเงินให้แก่นักเรียน ครู และผู้ปกครอง

นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย รองประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนองค์กรภาค             ตลาดทุนมีความยินดีที่จะร่วมสนับสนุน“โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อเด็กไทย ใส่ใจเรื่องการเงิน” เนื่องด้วยประเทศไทย                 จะสามารถก้าวหน้าและพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ สิ่งสำคัญคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ ความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์ และเข้าใจในโลกยุคใหม่ ดังนั้น เยาวชนไทยจึงจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะด้านดิจิทัลอย่างเพียงพอ                 เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะที่หลากหลาย เพื่อเข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาตลาดทุนไทย รวมไปถึงเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน โครงการนี้          

จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับภาคตลาดทุนและประเทศชาติ               ในอนาคตต่อไป

ดร. ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า การขาดแคลนทรัพยากรในโรงเรียนขนาดเล็ก พื้นที่ห่างไกลทุรกันดารส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน การสำรวจขององค์การ OECD พบว่าโรงเรียนที่มีปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน มีแนวโน้มที่นักเรียนจะทำคะแนน PISA ได้น้อย กสศ.ยังสำรวจในช่วงโควิด-19 พบว่า เด็กเยาวชนยากจนในชนบท ใช้อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือของพ่อแม่  ไม่มีแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์  ช่องว่างนี้เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไปห่างกันถึง  10 เท่า  โอกาสเดียวที่เด็กเหล่านี้จะได้ใช้ทรัพยากรเพื่อเรียนรู้ พัฒนาทักษะต่างๆ คือ ที่โรงเรียนโดยการทำงานของ กสศ. มุ่งระดมความร่วมมือทุกภาคส่วนสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา  โดยมีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เข้าใจความขาดแคลนของโรงเรียน เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของครู ผู้บริหารโรงเรียน เครือข่ายชมรมนักจัดการศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร  และสพฐ. สามารถตรวจสอบได้ และยังประมวลเป็นแผนที่ชี้เป้าให้กับภาคส่วนต่างๆ ในระยะแรกจะสนับสนุนโรงเรียนที่มีความต้องการเร่งด่วนราว200 แห่ง โครงการนี้จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณอย่างเสมอภาคจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้แก่โรงเรียนเล็ก ห่างไกล ทุรกันดาร  ซึ่งเป็นแนวทางเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนที่ กสศ. ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง

ภาคตลาดทุนและภาคธุรกิจรวมถึงผู้ที่สนใจจะร่วมโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อเด็กไทย ใส่ใจเรื่องการเงิน”สามารถสนับสนุนได้ผ่าน 3 รูปแบบ คือ 1) บริจาคคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแล้วและยังมีคุณภาพดี 2) บริจาคคอมพิวเตอร์ใหม่ (มือ 1) หรือ 3) สนับสนุนองค์ความรู้ตามความเชี่ยวชาญหรือตามศักยภาพของธุรกิจ (In kind Support)